วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2559

คาถาพระเจ้า 16 พระองค์(เสกข้าวกินก็ได้)

คาถาพระเจ้า 16 พระองค์(เสกข้าวกินก็ได้)


หากจะเสกข้าวกิน  ก่อนกินข้าวคำแรก ให้ตั้งนะโม 3 จบระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยคุณพ่อแม่ คุณครูอาจารย์ คุณพระแม่โพสพ ฯลฯ แล้วท่องว่า



“นะมะ นะอะ  นอกอนะกะ  
กอออ นออะ   นะอะ กะอัง
อุมิ อะมิ  มะหิ สุตัง  
สุนะ พุทธัง  อะสุ  นะอะ.”


         เสกข้าวกินสามคำ สามเดือน จะอยู่ยงคงกระพัน  เสกข้าวกินสามคำเป็นเวลา2 ปีกระดูกจะเป็นทองแดง เป็นยอดวิชาชาตรี   สิทธิการิยะ พระอาจารย์ แต่งอุปเท่พระคาถาบทนี้ไว้ให้เป็นทานแก่สมณะชีพราหมณ์ กุลบุตรทั้งปวง พระคาถานี้เรียกว่าธัมมะราชาจัดเป็นใหญ่กว่าคาถาทั้งปวง สารพัดกันอันตรายทั้งปวง คุณผีคุณคน ก้างติดคอเสกน้ำให้กิน เสกข้าวเสกน้ำกิ นทุกวันอยู่คงแก่อาวุธทั้งปวง ถ้าเสกกินอยู่ 3 ปี อยู่คงทั้งร่างกายจนกระทั่งถึงกระดูกแล  อยากให้คงถึงบริวารในบ้าน ให้เอาดินสอพองเขียนพระคาถานี้ใส่กระดานชนวนแล้วให้เสก ๑๐๘ ที ลบผงนั้นใส่ตุ่มข้าวเสกทับอีก ๗ ที จงคนเสียให้ทั่ว หุงกินแล้วคงทนทั้งเรือน เสกไคลพระเจดิย์อมไว้คงทนยิ่ง หากหลงป่าเสกใบหมากเม่ากิน จะสามารถอดข้าวได้ ๗ วัน ถ้าศัตรูไล่มาให้เสกกิ่งไม้ขวางทางไว้ ศัตรูจะเห็นเป็นขวากหนามกั้น ทำให้ตามมิทัน ถ้าขโมยเอาของไปจะมิให้มันหนีรอด เอาพระคาถานี้ลงไม้กาหลงหรือใบไม้ทั้งปวงก็ได้ เสก แล้วนำไปฝังตรงที่มันขโมยของไปมันจะมิไปไหน เดินวนเวียนอยู่ในที่นั้นเองหาทางออกมิเจอ  ถ้าจะให้มันเจ็บเท้า ให้เสกหนามแหลมแทงรอยตีนมัน จะเป็นที่ส้นหรือกลางตีน มันไปมิได้ ให้เจ็บเหมือนเหยียบขวากหนามแล พระคาถาบทนี้ฝอยนั้นว่ากันว่าท่วมหลังช้าง แล.(คัดลอกจากต้นฉบับตำราเก่า)

คาถาพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์

คาถาพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์

พระบูชาพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว

ตั้งนะโม 3 จบ

นะ ทรงฟ้า โม ทรงดิน พุทธ ทรงสินธุ์ ธา ทรงสมุทร ยะ ทรงอากาศ 
พุทธังแคล้วคลาด ธัมมังแคล้วคลาด สังฆังแคล้วคลาด 
ศัตรูภัยพาล วินาศสันติ 
นะกาโร กุกกุสันโธ สิโรมัชเฌ 
โมกาโร โกนาคะมะโน นานาจิตเต 
พุทธกาโร กัสสะโป พุทโธ จะ ทะเวเนเต 
ธา กาโร ศรีศากะยะมุนี โคตะโม 
ยะกันเน ยะกาโร อะริยะ เมตตรัยโย 
ชิวหาทีเต ปัญจะพุทธา นะมามิหัง

คาถาพระเจ้า ๕ พระองค์ เป็นคาถาที่นิยมใช้กันมาก เพื่อความเป็นสิริมงคลป้องกันสิ่งไม่ดีต่างๆสามารถแคล้วคลาดจากศัตรูทั้งหลาย มิอาจกล้ำกลายมาถึงเราได้ ภาวนาทุกเช้าค่ำ จะประสบความร่มเย็นเป็นสุข แคล้วคลาด ปลอดภัย นักแล
ภาวนาก่อนออกจากบ้าน ศัตรูมิกล้ำกลาย เจรจาต่อรองง่ายดาย แม้ศัตรูก็กลับกลายเป็นมิตร เป็นพระคาถาที่วิเศษยิ่งนัก
 
ที่มาของ พระคาถาพระเจ้า 5 พระองค์ เป็นการเขียนโดยใช้ ตัวย่อนามพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ คือ 
นะ หมายถึง พระกุกกุสันโธ ใช้เขียนแทน ธาตุน้ำ ซึ่งเรียกว่า อาโปธาตุ มีกำลังเท่ากับ ๑๒ 
โม หมายถึง พระโกนาคม ใช้เขียนแทน ธาตุดิน ซึ่งเรียกว่า ปฐวีธาตุ มีกำลังเท่ากับ ๒๑ 
พุท หมายถึง พระกัสสป ใช้เขียนแทน ธาตุไฟ ซึ่งเรียกว่า เดโชธาตุ มีกำลังเท่ากับ ๖ 
ธา หมายถึง พระสมณะโคดม (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ใช้เขียนแทน ธาตุลม ซึ่งเรียกว่า วาโยธาตุ มีกำลังเท่ากับ ๗ 
ยะ หมายถึง พระศรีอารยเมตไตรย (พระพุทธเจ้าองค์ถัดไป หลัง พ.ศ.๕๐๐๐) ใช้เขียนแทน อากาศธาตุ มีกำลังเท่ากับ ๑๐ เมื่อรวมกำลังธาตุทั้ง ๕ ก็จะเป็นคุณพระพุทธเจ้า ๕๖


อิติปิโสหูช้าง

อิติปิโสหูช้าง



ตั้งนะโม 3 จบ แล้วว่า

พุทโธ อิติปิโสภะคะวา 
พุทโธภะ คะวาติ อิติปิโสภะคะวา 
อรหัง อิติปิโสภะคะวา 
สัมมาสัมพุทธโธฯ


ท่านว่าพระอิติปิโสบทนี้ ถ้าหาทรัพย์มิได้ให้เขียนไว้ก้นถุง ทรัพย์มิขาด เลย เสกด้วยคาถานี้ 108 พระคาถานี้กิน มิรู้สิ้นเลย ให้ภาวนาไว้ 108 คาบ ประสงค์สิ่งใดได้ดังปรารถนาแล ถ้าถูก จองจำ ภาวนา 9 คาบหลุดแล ถ้าจะให้ เป็นจังงัง เอาลิ้นดุนเพดานว่า 11 คาบ แลฯ


พระคาถาบทนี้. มีความศักดิ์สิทธิ์มาก หลวงพ่อพรหม ท่านเป็นพระเถราจารย์ที่เก่งกล้าในเรื่องพุทธาคม มากมายด้วยเรื่องราวปาฎิหาริย์
ผู้มีศลีธรรม ประกอบด้วยศรัทธา หมั่นสวดภาวนาเป็นประจำ เช้า-ค่ำ ลาภผลเพิ่มพูนทวี มั่งมีโภคทรัพย์ ทวยเทพเทวดาคุ้มครองรักษา

คาถาบูชาพระสีวลี

คาถาบูชาพระสีวลี


“สีวลี จะ มหาเถโร เทวะตานะระภิปูชิโต 
โสระโห ปัจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตังสะทา 
มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุ เม”




พระธาตุพระสีวลี


พระสีวลีเถรเจ้าเป็นพระอรหันตเจ้าสมัยพุทธกาล ตามประวัติกล่าวว่า ท่านเป็นโอรสของพระนางสุปปวาสา พระมารดาทรงครรภ์นานถึงเจ็ดปีกับอีกเจ็ดวัน แม้จะทรงครรภ์นานเห็นปานนั้น แต่ความลำบากแม้แต่น้อยหนึ่งก็มิได้มีแก่พระมารดา มิหนำซ้ำพระมารดายังสมบูรณ์บริบูรณ์ไปด้วยลาภสักการะเป็นอันมาก... 

บุรพกรรมที่ทำให้ท่านต้องอยู่ในครรภ์นานถึงเพียงนั้น กล่าวไว้ว่าในชาติก่อนท่านเป็นพระมหากษัตริย์ ได้ยกทัพไปตีเมืองอื่น ทำการล้อมเขาไว้ตามคำแนะนำของพระมารดา เป็นเวลานานถึงเจ็ดปีกับอีกเจ็ดวัน เขาจึงยอมแพ้ มาในชาตินี้ท่านถึงต้องทนอยู่ในครรภ์พระมารดา เป็นเวลาเท่ากันเพื่อใช้หนี้กรรม...! ต่อมาท่านได้ฟังเทศน์จากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีความเลื่อมใสจึงทูลขออุปสมบท เพียงมีดโกนจรดศีรษะก็ได้โสดาปัตติผล ปลงผมเสร็จก็สำเร็จอรหัตผล เป็นผู้มีลาภสักการะยิ่งกว่าผู้ใด องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงตั้งไว้เป็นเอตทัคคะ คือเป็นผู้เลิศไปด้วยลาภ... 

ความเป็นเลิศในด้านลาภผลของท่านปรากฏชัด ครั้งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ องค์ เสด็จไปเยี่ยมพระเรวัตตะ ณ ป่าไม้ตะเคียน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงถามทางจากพระอานนท์ พระอานนท์ทูลตอบว่า ทางตรงลำบากด้วยอาหารบิณฑบาต มีแต่อมนุษย์เป็นจำนวนมาก มีระยะทาง ๖๐ โยชน์ ส่วนทางอ้อมสะดวกต่อการบิณฑบาต มีบ้านเรือนเป็นระยะไป แต่หนทางไกลถึง ๑๒๐ โยชน์...! 

องค์สมเด็จพระบรมสุคตตรัสว่า “พระสีวลีมาด้วยหรือไม่...?” พระอานนท์ทูลว่า “มาด้วยพระเจ้าข้า” องค์สมเด็จพระบรมศาสดาจึงมีพระดำรัสว่า “อานันทะ ดูกรอานนท์ ถ้าสีวลีมาด้วย เราจะไปทางตรง...” เมื่อองค์สมเด็จพระประทีปแก้วพร้อมด้วยภิกษุทั้ง ๕๐๐ เสด็จไปทางตรง บรรดาเทวดาทั้งหลายก็เนรมิตที่พักเป็นระยะ ๆ ไปตลอดทาง ๖๐ โยชน์ และนำอาหารมาถวายเฉพาะพระสีวลี มีจำนวนมากพอที่จะถวายองค์สมเด็จพระบรมศาสดา และภิกษุทั้ง ๕๐๐ โดยทั่วถึงกัน... 

บุรพกรรมที่ทำให้มีลาภมากนี้ กล่าวไว้ว่า ในชาติหนึ่งมหาชนทั้งหลายตั้งใจถวายทานต่อภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน ของทุกอย่างมีครบแล้ว ยกเว้นน้ำผึ้งสดเพียงอย่างเดียว ชนทั้งหลายจึงพากันออกหาน้ำผึ้งสดเป็นการใหญ่... พระสีวลีในชาตินั้นเป็นชายตัดฟืน พอดีได้ผึ้งมาหนึ่งรัง ชนเป็นอันมากเหล่านั้นขอซื้อ ให้ราคาถึงหนึ่งพันกหาปณะท่านก็ไม่ขาย แต่ขอร่วมทำบุญด้วย อานิสงส์การทำบุญปิดท้ายมหาสังฆทานด้วยน้ำผึ้งสดรวงเดียวในชาตินั้น บันดาลให้ท่านเกิดมาถึงพร้อมด้วยลาภสักการะทุกชาติ เทวดาที่นำอาหารมาถวาย คือชนทั้งหลายที่ได้ร่วมทำบุญในครั้งนั้นเอง... 

“หลวงพ่อ” เล่าให้ฟังว่า คืนหนึ่งท่านเจริญกรรมฐานอยู่ เห็นประกายสีเขียวนวลสว่างจ้าอยู่บนขื่อ มีเสียงบอกว่าขอมาอยู่ด้วย “หลวงพ่อ” ถามว่าเป็นใคร เสียงนั้นตอบว่า “ผม...สีวลี ครับ” รุ่งเช้าท่านขึ้นไปดูบนขื่อ พบพระธาตุพระสีวลีองค์หนึ่งจริง ๆ จึงเก็บเอามาบูชาไว้... อาตมาได้ยินดังนั้นก็เกิดความ “อยาก” ได้ขึ้นมา อุตส่าห์ไปค้นหาคาถาบูชาพระสีวลีมาท่อง คาถาก็ยาวจัง จึงตัดทอนเอาสั้น ๆ แค่ว่า 

“สีวลี จะ มหาเถโร เทวะตานะระภิปูชิโต โสระโห ปัจะยาทิมหิ อะหัง วันทามิ ตังสะทา มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุ เม”

ท่องไปขอไป ขอให้ได้พระธาตุพระสีวลีมาบูชา เวลาผ่านไปสามเดือน มีผู้นำพระธาตุพระสีวลีมาถวาย จากหนึ่งเป็นสอง จากสองเป็นสาม จากสามเป็นสี่ จนอาตมาเห็นว่าได้มากแล้ว ขอแค่นี้ก็พอ...อาตมาแบ่งปันพระธาตุพระสีวลีให้แก่นัน (นันทิญา) ๑ องค์ เกียง (มาลินี) ๑ องค์ พี่วิไล (วิไลวรรณ) ๑ องค์ เหลือไว้บูชาเอง ๑ องค์ แต่ไม่นานมานี้ ได้มอบให้กับหัวหน้าสถานีวิจัยเพื่อรักษาต้นน้ำแม่กลองคือ คุณประเดิมชัย แสงคู่วงษ์ไปเสียแล้ว เห็นทีต้องท่องคาถาใหม่อีกตามเคย... 

พระธาตุพระสีวลีเถระมีลักษณะขรุขระ แบบที่ค่อนข้างเรียบมีลักษณะคล้ายเม็ดมะละกอ แบบปานกลางคล้ายเม็ดพุทรา แบบขรุขระมากมีลักษณะคล้ายลูกยออ่อน มีสองสีคือ เขียวแก่แบบใบผักตบ กับเหลืองเหมือนหวายตะค้า ที่อาตมาได้มานั้น สีเหลืองเหมือนหวายตะค้าทั้งสี่องค์... 

หากท่านผู้อ่านท่านใดต้องการพระธาตุพระสีวลีไว้บูชา ก็โปรดทดลองท่องคาถาดู ของอย่างนี้ใครบอกก็อย่าเพิ่งเชื่อ จนกว่าเราจะทำเห็นผลเอง ถ้าท่านมีความอดทนพอ มีสัจจะแน่วแน่มั่นคง คิดว่าในเวลาไม่นาน ท่านก็จะเห็นผลเช่นเดียวกัน... “กับของจริง ต้องทำจริง จึงจะได้ผลจริง”

๑๐ พฤษภาคม ๒๕๓๓ 
พระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
__________________

คาถาพระอิติปิโสถอยหลัง

คาถาพระอิติปิโสถอยหลัง


ติวาคะภะ โธพุท นังสานุสมะวะเทถาสัต ถิระสามะทัมสะริปุ โรตะนุตอะ ทูวิกะโล โตคะสุ โนปันสัมณะระจะชาวิชโธพุทสัมมาสัม หังระอะ วาคะภะ โส ปิติอิ ฯ


         สิทธิการิยะ พระอิติปิโสถอยหลัง ผู้ใดเล่าไว้ คุ้มได้มากครัน ศัตรูนึกหวัง มิได้กล้ำกราย เป็นเสน่ห์แก่เขา เข้าหาเจ้านาย ท้าวพระยาทั้งหลาย มีจิตเมตตา ปรารถนาสิ่งใด นึกไว้ในใจ ดังคิด อย่าได้แคลงจิต คิดไปสู่อื่น ฝูงคนทั้งพื้น คงจะบูชา พระคาถานี้ อุปเท่ห์พิธี เหลือจะพรรณนา ปลุกเสกกายา ได้สมดังใจ คงกระพันชาตรี ฤทธีมากมาย ขอท่านทั้งหลาย จงหมั่นภาวนา ๚
         ⊚ จะกล่าวอุปเทห์ พระอิติปิโสถอยหลัง ผู้ใดเรียนได้ไว้เป็นปิยัง ศัตรูนึกหวัง บ่มิกล่ำกลาย เป็นที่เสน่หา เทพาอารักษ์ มนุษย์หญิงชาย สิ่งใดปรารถนา ภาวนาอย่าคลาย ถ้วน ๑๐๘ หมายทำเมื่อเที่ยงคืน คนรักหนักหนา คือดังญาติกา ทั้งอายุยืน จะทำสิ่งไร ตั้งใจอย่าขืน คืออย่าเป็นอื่น บ่ายหน้าหนบูรพ์ ไม่รักซ้อนแกะทำ พระภควัมอย่าสูญ ใส่น้ำมันแช่ เสกแปรเป็นคุณบ่ายหน้าหนบูรพ์ จนพระลุกนั่ง ใช้เป็นเสน่ห์ ล่องหนกำบัง ออกสงครามเจรจา ท้าวพระยาปิยัง ฝูงชนทั่วทั้ง รักนักรักหนา ถ้าท่านจองจำ ตั้งจิตบริกรรม ด้วยพระคาถา มนต์น้ำหมากนั้น ๑๔ คาบครา ถูกต้องชื่อคา ลุ่ยหลุดบัดใจ ถ้าหาน้ำหมากมิได้ อาจารย์กล่าวไว้ ให้ร่ายเป่าไป ชื่อคาอันแข็ง อ่อนคือลนไฟ เสกสิ่งใด ๆ กินคงกระพัน ๑๓ คาบนา ๑๕ คาบว่า ใช้เป็นจังงัง โดยท่านกล่าวมา เอาลิ้นแทงเพดาน ๑๕ คาบ อย่าคลาด เป่าไปอย่าคลา กระทืบตีนออกมาอาวุธศาตรา ลุ่ยหลุดจากมือ ๑๑ คาบนั้น ท่านให้เลือกถือ จังงังมนุษย์ คือถืออาวุธ ลุ่ยหลุดจากมือ มหาละลวยฤา เป็นได้เหมือนกัน ให้ร่ายเป่าไป ๑๑ คาบนั้นไซร้ เป่าไปสู่มัน มันมาหาเรา เข้าผูกมัดขันชะเนาะ บ่ายหน้าจำเพาะ สู่หัวเชือกเข้า ถ้วน ๑๐๘ เป่าสู่หัวเชือกเข้า ลุ่ยหลุดแลนา ถ้าจะลุยอัคคี เสกหมากกินดี เสกน้ำมนต์ทา ๕ คาบให้ไว้ ให้ใช้คาถา เสกน้ำมนต์ทา ไม่มีโภยภัย ถ้าจะล้างตะกั่ว เสกน้ำมันมะกรูด ยกมือขึ้นไหว้ เจ้าประคุณทูนหัวไม่มีอันตราย ผิวว่าจะแก้ คุณเขาทำแล แม้คุณทั้งหลาย ยีนเหนือลมร่าย ๑๐ คาบโดยหมาย เป่าไปอย่าคลา หายสิ้นสูญพลันเมื่อทำรำลึก ตรีกหาพระพุทธ ธรรมะสังฆา ขอคุณบิดา ทั้งพระมารดา คุณครูอุปัชฌาย์ อยู่เหนือเกศา เสกหมากให้กิน ท่านรักนักหนา เสกน้ำล้างหน้า เมื่อมีทุกข์ภัย ทั้งสองสิ่งนี้ เสก ๔ คาบครา ไม่ม้วยมรณา เทวดาดลใจ อนึ่งเล่าหนาขอดชายผ้าไว้ผูกเป็นหัวพิรอด ๑๗ คาบใส่ หัวประเจียด ภาวนาเดินไปขึ้นลงที่ไหน คนไม่เห็นเรา ปัดพิษงูตะขาบ แมลงป่อง ๓ ที คงกระพันชาตรี ๑๙ คาบหนา แม้นเขาตามไป หักกิ่งไม้มา เสกขวางมรรคา เสกสิ่งๆ ไร ตามใจปรารถนา ศัตรูตามมา แคล้วคลาดไปไกล อนึ่งท่านไว้ว่า ให้เอาใบไม้ รู้นอน ๗ สิ่ง ตายโหงตายห่า ไปพัดพลีมา วันภุมมาเสารี เสกคาถานี้ ๑๐๘ คาบหนา พาตัวเดินไปเข้าในหลังคา ฝูงชนทั้วหน้า พากันหลับใหล ฯ

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

คาถามงกุฏพระพุทธเจ้า (ตำนานและอานุภาพ)

คาถามงกุฏพระพุทธเจ้า  



อิติปิโส     วิเสเสอิ

อิเสเส   พุทธะ   นาเมอิ

อิเมนา   พุทธะ   ตังโสอิ

อิโสตัง   พุทธะ   ปิติอิ


คำแปล คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า

ขออัญเชิญคุณแห่งพระพุทธเจ้าอันวิเศษ 
คุณแห่งกระแสพระนิพพานอันประเสริฐ 
ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงสรรเสริญแล้ว 
จงเป็นมหาวิภูษิตาภรณ์ประดับด้วยมงกุฎทิพย์
และเครื่องทรงแห่งพระเจ้ามหาจักรพรรดิ 
ครอบคลุมข้าพเจ้าตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ


       ภาวนาทุกวัน มิตกนรก เสกน้ำล้างหน้าทุกวัน กันโรคภัยไข้เจ็บ คุณไสยทั้งมวล    ถ้าจะให้มี ตบะ เดชะ ให้ภาวนาทุกวัน เกิด สง่าราศี เป็นที่ เมตตา แก่คนทั้งหลาย    ให้ภาวนาแล้วแผ่เมตตาให้คนทั้งปวง ใครคิดร้ายก็ต้องมีอันเป็นไป     ถ้าปรารถนาสิ่งใด ให้ภาวนาคาถานี้ ๑๘ คาบ เป็นไปได้ดังใจนึก       ถ้าจะให้เป็นมหาจังงัง ให้ภาวนาคาถานี้ ๘ คาบเป็นมหาจังงังแล      ถ้าจะให้เป็น มหาละลวยให้ภาวนา ๙ คาบ      ถ้าช้างม้าวัวควายสัตว์ที่ดุร้ายทั้งหลาย ให้เสกหญ้าเสกของให้มันกิน กลับใจอ่อนรักเราแล      ถ้าภูตพรายมันเข้าอยู่คน เสกข้าวให้มันกินออกแล      ถ้าปรารถนาจะให้เสียงเพราะ ให้เสกสีผึ้งสีปากเสกหมากกินไป เทศนาสวดร้องเป็นที่พอใจคนทั้งหลาย      ให้เสกแป้งผัดหน้า เสกมงกุฎรัดเกล้า เป็นสง่าราศีใครเห็นใครรักทุกคน 
      อนึ่งให้เอาใบลานหรือกระดาษว่าวมาลงคาถานี้ ทำเป็นมงคลเสกด้วยตัวเอง สารพัดกันศาสตราอาวุธทั้งหลาย เป็นวิเศษนัก พระคาถาบทนี้ พระมหากษัตริย์แต่เก่าก่อนทรงใช้ประจำทุกพระองค์แล

สรรพคุณว่า ฝอยท่วมหลังช้าง


คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า


จาก หนังสือ พ่อรักลูก (พิเศษ)
ของหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง
                                            
เป็นอันว่าวันนี้ขอย้อนต้นนิดหนึ่ง ท่านบอกว่าในสมัยหนึ่ง มีคนเขามาหาท่านแล้วเขาส่งหนังสือมาให้ เวลานั้นเป็นเวลาค่ำ ท่านบอกว่าค่ำๆอย่างนี้อ่านหนังสือไม่ออก จะต้องจุดไฟ แล้วก็ใช้กระแสไฟอ่าน พอตกเวลากลางคืนก็ปรากฏว่าเวลาที่เจริญพระกรรมฐาน ก็ใช้กำลังของอภิญญายกจิตโดยใช้ มโนมยิทธิ ไม่ใช่ใช้อภิญญาใหญ่ ขึ้นไปนมัสการองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาที่จุฬามณีเจดียสถาน พอไปถึงก็กราบองค์สมเด็จพระพิชิตมาร พอเงยหน้าขึ้นท่านก็บอกว่า

"ตามธรรมดาพระนี่ ถึงแม้ว่าไม่มีแสงไฟก็ควรจะอ่านหนังสือออก"

ตามบันทึกของท่านก็ถามว่า "ทำอย่างไรจึงจะอ่านออกพระพุทธเจ้าข้า"

ท่านบอกว่า "ทิพจักขุญาณของเธอมีแล้ว แต่อาศัยที่เป็นผู้ปรารถนาพุทธภูมิมาเดิม ทิพจักขุญาณจึงไม่แจ่มใสเหมือนพระอริยเจ้า ฉะนั้น เพื่อจะให้ความแจ่มใสเกิดขึ้นเห็นภาพชัด ควรปฏิบัติแบบนี้ ควรใช้คาถานี้ไปภาวนาจนเป็นฌานสมาบัติ"

เรื่องฌานนี่มันเรื่องเล็ก ท่านบอกว่า จะคว้าอะไรขึ้นมา มันก็เป็นฌานทันทีเพราะมีการคล่องอยู่แล้ว คาถาก็เห็นจะเป็น มงกุฎพระพุทธเจ้า ท่านบอกว่าอย่างนี้

"อิติปิ โส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตัง โสอิ อิโสตัง พุทธะ ปิติอิ"

ท่านกล่าวว่า "คาถานี้ถ้าไปเรียนและภาวนาทำให้เป็นฌาน นิมิตต่างๆจะมีอาการแจ่มใส คนที่ตาไม่ดีก็อ่านหนังสือออกได้ หรือว่าเวลามืดๆ ก็สามารถจะมองเห็นหนังสือได้ และมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้ตามความประสงค์ ถ้าใช้คาถานี้เป็นฌาน" ท่านว่าอย่างนั้น

เป็นอันว่าท่านย้ำมาว่าไอ้มืดๆ มันก็อ่านหนังสือออก และท่านบอกว่าท่านก็มาทำ มาทำมันก็ไม่นานใช้เวลาเพียงครู่เดียว จิตก็เข้าถึงฌาน ๔ ทรงฌาน ๔ สยาบๆ ก็เลยว่ากันถึงฌาน ๘ ถึงฌาน ๘ ก็หลบลงมาฌาน ๔ ในรูปฌาน ทำไปทำมาก็เลยลองหลับตาอ่านหนังสือ ก็เห็นอ่านออก แต่ว่าวิธีนี้ท่านบอกว่าจะใช้ทั่วๆไปไม่ได้ เอาไว้แต่เมื่อมันจำเป็น ถ้าจำเป็นจริงๆ ไม่ต้องหยิบหนังสือมา เป็นแต่เพียงนึกว่าจะอ่านหนังสือ มันก็มีความเข้าใจว่าหนังสือฉบับนั้นเขาว่าอย่างไร

วงเล็บของท่านมีไว้บอกว่า ใครอ่านแล้วถ้าทำได้ จงอย่าทำตนเป็นผู้วิเศษ เมื่อเวลาอ่านหนังสือต่อหน้าคน ถ้ามันอ่านไม่ออกจริงๆ ก็ใช้ไฟใช้แว่นส่อง ถ้ามันจำเป็นจริงๆ ก็เอาจิตจับจากภาพหนังสือนั้นเสีย ใช้ใจอย่างเดียวก็อ่านหนังสือออก นี่เป็นวิธีปฏิบัติของท่าน

(ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๗๘)



ว่า 3 จบ 9 จบ สำหรับอานิสงค์ของคาถานี้เป็น คาถาครอบจักรวาล เรานำไปใช้ในทางกุศลได้ทุก ๆ เรื่อง โดยมีประวัติของการใช้คาถานี้มายาวนาน ส่วนใหญ่ในราชสำนัก แม้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ารัชกาลที่ 5 ท่านก็ทรงพระคาถานี้เป็นประจำมีที่ปรากฏเป็นปาฏิหาริย์ก็ครั้งที่ถูกทูตต่างประเทศนำม้าเทศตัวใหญ่แต่เป็นม้าพยศมาท้าให้ท่านทรงพระองค์ท่านได้ใช้พระคาถานี้เสกหญ้าให้ม้ากินก่อนม้าตัวนั้นก็กลับเชื่องให้พระองค์ทรงม้าแต่โดยดีเรื่องนี้ทำให้รัชกาลที่ 6 ผู้ทรงสร้างพระบรมรูปทรงม้าถวายเสด็จพ่อของท่าน ได้ทรงแฝงนัยยะแห่งกฤษดาอภินิหารนี้เพื่อเทิดทูนพระคุณท่านเอาไว้


หลักในการว่าคาถาให้มีความศักดิ์สิทธิ์นั้น มีพื้นฐานจาก " จิต " เป็นสำคัญ หากจิตมีสมาธิสูง
ตั้งมั่นคาถาก็ยิ่งทรงความศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นระหว่างที่ว่าคาถาให้ จับลมหายใจสบายพร้อม ๆ กับ
การภาวนาคาถาบทนี้ เป็นขั้นที่ 1 ระดับสูงกว่านี้ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ท่านใช้คาถาบทนี้
โดยมีนิมิต กำกับคาถา โดยทรงพุทธนิมิต ไว้ดังนี้ โดยตั้งกำลังใจว่าเรา ขอกราบอาธารณาบารมี
พระพุทธเจ้าเสด็จประทับเหนือเศียรเกล้าของข้าพเจ้าเพื่อ.......ปกปักรักษาคุ้มครองข้าพเจ้าด้วยเทอญ

จากนั้นทำตามได้เลยครับ

" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ "
เมื่อว่าคาถาจบ คาบที่ 1 ก็กำหนดอาราธณาพุทธนิมิต
อยู่เบื้องหน้าของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตนี้เอาไว้

ว่าคาถาจบที่ 2 ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์หนึ่ง อยู่เบื้องขวา
ของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตทั้งหมดเอาไว้

ว่าคาถาจบที่ 3 ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์ อยู่ด้านหลังของศีรษะเรา และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้

ว่าคาถาจบที่ 4 ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์ อยู่ด้านซ้าย และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้

ว่าคาถาจบที่ 5 ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์อยู่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้

ว่าคาถาจบที่ 6 ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์ อยู่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้

 ว่าคาถาจบที่ 7 ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์ อยู่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้

ว่าคาถาจบที่ 8 ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์ อยู่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิต เอาไว้ทั้ง 8 พระองค์เรียงวนรอบศีรษะของเรา

ว่าคาถาจบที่ 9 กำหนดพุทธนิมิตพระพุทธเจ้าองค์ใหญ่เสด็จประทับกึ่งกลางศีรษะเป็นยอดมงกุฎเปล่งประกายพรึกทุกๆพระองค์เป็น มงกุฎเพชรพระพุทธเจ้าทั้งเก้าพระองค์บนเศียรเกล้าของเรา

เมื่อทำได้แล้วจะเข้าใจได้ทันทีว่าคาถานี้ทำไมจึงมีชื่อว่า คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า และ ให้ทรง 
มงกุฎพระพุทธเจ้านี้เอาไว้ตลอดเวลาเป็นการทรงอารมณ์ในพุทธานุสตกรรมฐาน 
คืนเดียวเห็นผลมีความก้าวหน้ามาเล่าให้เพื่อนๆท่านอื่นฟังด้วยครับ



พระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ พระมหากรุณาธิคุณ
มีคุณพระรัตนตรัยเป็น สรณะที่พึ่ง ที่ระลึก ที่ประเสริฐสุด สูงสุด


  • แหล่งที่สองมาจากหลวงปู่เอี่ยม สุวัณณสโรหรือพระภาวนาโกศลเถระ เกิดเมื่อวันที่ 2ตุลาคม พ.ศ. 2375 ตรงกับรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สืบเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5)ได้โปรดเกล้าฯ ให้ท่านได้เข้ามาดูแลวัดหนังและเป็นเจ้าอาวาสในปี 2442 ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อาราธนาให้หลวงปู่เอี่ยมเข้าสู่พระบรมมหาราชวังก่อนที่จะเสด็จประพาสยุโรป หลวงปู่เอี่ยมล่วงรู้ด้วยทิพยญาณว่า พระองค์ท่านจะเผชิญกับม้าพยศจากฝรั่งเศส จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวาย"พระคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า"ไว้สำหรับทรงเสกหญ้าให้ม้าพยศกิน ปรากฏว่า เหตุการณ์ที่ท่านบอกนั้นเป็นความจริง ด้วยราชสำนักฝรั่งเศสได้นำม้าพยศมาถวาย แต่ด้วยพระพุทธานุภาพแห่งพระคาถา และเดชะพระมหาบารมีของพระองค์ ทำให้องค์รัชกาลที่ 5 ทรงปลอดภัย และทรงแสดงพระปรีชาสามารถปราบม้าพยศตัวนั้นได้อย่างง่ายดาย


เนื้อหาที่คัดลอกจาก http://www.lekpluto.com/index01/special03.html
มีดังต่อไปนี้

หลวงปู่เอี่ยมนั้นเป็น "ศิษย์มีครู " ดังนั้น จึงถอดแบบอย่างมาจากองค์หลวงปู่รอดแทบจะเป็นพิมพ์เดียวกัน หลวงปู่รอดเก่งอย่างไร หลวงปู่อี่ยมก็เก่งอย่างนั้น จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่ท่านจะมีศิษย์และผู้ที่เคารพนับถือมากมาย ทั้งที่วัดอยู่ในถิ่นห่างไกลความเจริญ การเดินทางไปมาหาสู่ไม่สะดวก แม้แต่พระเจ้าน้องยาเธอ "กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์" เจ้ากรมพระนครบาล (มหาดไทยในปัจจุบัน) ยังน้อมตัวเป็นศิษย์ และท่านผู้นี้แหละ ที่ถวายคำแนะนำและทูลเชิญเสด็จล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๕ให้เสด็จมาขอรับคำพยากรณ์จากหลวงปู่เอี่ยม ก่อนที่จะเสด็จประพาสยุโรป
ในการเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่หนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ นั้น ไม่ได้เป็นการเสด็จเพื่อแสวงหาความสำราญแต่อย่างใด แต่เป็นการเสด็จเพื่อดำเนินพระราชวิเทโศบายด้านการต่างประเทศอย่างชาญฉลาดเป็นการเสด็จเพื่อเจริญพระราชไมตรีกับราชวงศ์ต่าง ๆ ของยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัสเซียและเยอรมันซึ่งเป็นศัตรูคู่แค้นของอังกฤษ และฝรั่งเศส ด้วยหลักการที่ว่า "ศัตรูของเพื่อนก็คือศัตรูของเรา" เมื่อผูกสัมพันธ์กับรัสเซีย เยอรมัน และกลุ่มประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ได้แล้ว อังกฤษ และฝรั่งเศสก็จะไม่กล้ารุกราน หรือยึดเอาประเทศไทยเป็น "อาณานิคม" อีกต่อไป ซึ่งส่งผลทำให้ไทยเราดำรงความเป็นเอกราชมาจนทุกวันนี้
การเสด็จประพาสยุโรปในสมัยนั้น ทำได้ทางเดียว คือ "ทางเรือ" ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางแรมเดือน การออกทะเลหรือมหาสมุทรนั้น แม้ในปัจจุบันที่มีการพัฒนาการเดินเรือ มีเรือที่มั่นคงแข็งแรง ประสิทธิภาพสูง มีการติดต่อสื่อสารที่ทันท่วงที ก็ยังไม่วายจะ "อับปาง" เลยล่ะ หากออกเดินทางในช่วงมรสุม หรือ "สุ่มสี่สุ่มห้า" ล่ะก็ เป็นเสร็จทุกราย คนโบราณจึงสอนเอาไว้ว่า "อย่าไว้ใจทะเลคืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล มีภยันตรายรอบด้าน ทุกเวลานาที" ท่านผู้อ่านลองหลับตาวาดภาพการเดินเรือในสมัยเมื่อร้อยกว่าปีล่วงมาแล้วซิครับ ว่ายากลำบาก และมีอันตรายเพียงใด แต่ล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๕ท่านก็ทรงเสด็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย เป็นการเสียสละพระองค์อย่างสูงสุด ที่ไม่มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกจะทำได้ ตอนหน้าจะได้กล่าวถึงคำพยากรณ์และการแก้ไขเหตุร้ายแรงที่ประสบตามคำพยากรณ์ เป็นเรื่องของความเชื่อถือในคุณพระ และคาถาอาคม หากท่านเห็นว่า "ไม่ไร้สาระ" จนเกินไป

เมื่อล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๕ ได้รับคำแนะนำจากพระเจ้าน้องยาเธอ "กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์"ให้เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ เข้านมัสการ "หลวงปู่เอี่ยม" วัดโคนอน เพื่อขอรับคำพยากรณ์ก่อนที่จะเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ นั้น ภายหลังที่กำหนดการเสด็จวัดโคนอนได้ถูกกำหนดขึ้นเป็นการส่วนพระองค์เรียบร้อยแล้ว ก็ได้ส่งหมายกำหนดการไปถวายแด่หลวงปู่เอี่ยม เป็นการภายใน เพื่อที่จะได้เตรียมตัวรับเสด็จ
ขบวนเสด็จประกอบด้วย เรือพายสี่แจวที่ทรงประทับ และขบวนเรือคุ้มกัน ควบคุมโดยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงนเรศวรฤทธิ์ ได้เคลื่อนที่เข้าคลองลัดสู่วัดโคนอน ชาวบ้านละแวกนั้นไม่ได้ไหวตัวหรือเอะใจแต่อย่างใด เพราะเห็นเป็นขบวนเรือธรรมดา มิได้ประดับประดาธงทิวให้แปลกไปกว่าเรือลำอื่นดูเหมือนกับเรือที่ขุนนางหรือเศรษฐีผู้มีทรัพย์ใช้กันทั่วไป และผู้ที่ขึ้นมาจากเรือสี่แจวต่างก็แต่งกายแบบธรรมดา มีหมวกสวมไว้บนศีรษะ ใบหน้าบ่งบอกถึงเป็นผู้มีบุญ หนวดบอกถึงผู้มีอำนาจดวงตาฉายแววแห่งความเมตตาปราณีตลอดเวลา เวลาเดินมีคนล้อมหน้าล้อมหลัง ทุกคนไม่ได้เฉลียวใจเลยว่า "บุรุษผู้ขึ้นมาจากเรือสี่แจวนั้น คือ เจ้าชีวิตแห่งกรุงสยาม พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า ผู้ทรงประกาศเลิกทาสโดยสิ้นเชิง"
พระปลัดเอี่ยมนั่งรออยู่บนอาสนะอันสมควรแก่ฐานานุรูป ภายในพระอุโบสถอันแคบ แบบวัดราษฏร์ในเขตอันไกลจากพระบรมมหาราชวัง กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์ก้าวนำเสด็จเข้ามาภายในพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าทรงจุดธูปเทียนบูชาสักการะพระประธาน กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วจึงเสด็จกลับมาถวายนมัสการพระปลัดเอี่ยม ซึ่งกราบทูลให้ทรงประทับนั่งธรรมดาตามสบายพระองค์
"ที่รูปมาในวันนี้ ("รูป" เป็นคำที่พระมหากษัตริย์สมัยก่อนใช้แทนพระนามเมื่อมีพระราชดำรัสกับพระสงฆ์) เพื่อขอให้ท่านปลัดได้ช่วยตรวจดูเหตุการณ์ว่า การที่รูปจะเสด็จไปยุโรปเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักในยุโรปนั้น จักเป็นอย่างไรบ้าง ด้วยหนทางไกลและอันตรายมีอยู่รอบด้าน"
"มหาบพิตร อาตมาจักตรวจสอบให้ อย่าได้ทรงมีพระหทัยกังวล ทั้งนี้ด้วยพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นสมมติเทพแบบพระองค์นั้น มีบุญญาธิการ สามารถผ่านพ้นความทุกข์ได้อย่างมั่นคง"
พระปลัดเอี่ยมลุกจากที่นั่งไปคุกเข่าลงหน้าพระประธาน ก้มลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ระลึกถึงองค์พระรัตนตรัย และหลวงปู่รอดผู้มรณภาพไปแล้ว ขอบารมีในการจะเข้า "ฌาน" เพื่อดูอนาคตด้วย "อนาคตังสญาณ" จากนั้นก็กลับเข้ามาสู่ท่านั่งสมาธิตัวตรง เจริญอานาปานสติ แล้วเข้าสู่ฌานที่ ๔ ตามลำดับ จากนั้นเข้าสู่อนาคตังสญาณ โดยกำหนดจิตไว้มั่นเพื่อให้นิมิตเกิด
ในท่ามกลางความคะนองของท้องทะเล และคลื่นลมตลอดจนวังวนของทะเล เรือพระที่นั่งกำลังอยู่ในปากแห่งวังวนนั้น น้ำในวังวนเชี่ยวกราก และส่งแรงดูดมหาศาล ภายใต้วังวนนั้น ซากเรือใหญ่น้อยจมอยู่เป็นอันมาก พ้นจากทะเลมาสู่บก พลันภาพของกลุ่มคนที่นั่งกันอยู่เป็นชั้น ๆ ส่งเสียงจ้อกแจัก ด้านล่างเป็นผืนหญ้า และมีผู้จูงม้าเข้ามาในที่นั้น ม้าตัวนั้นมีคนถือเชือกที่ล่ามขาทั้งสี่คอยดึงไว้ไม่ให้พยศ ดวงตาของมันเหลือกโปน น้ำลายฟูมปาก
ภาพของฝรั่งแต่งตัวด้วยเครื่องแบบประหลาด ผายมือให้พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าทรงเสด็จไปรับม้าเพื่อประทับ แล้วทุกอย่างก็ดับวูบหายไป ถึงวาระที่ออกจากญาณพอดีลุกขึ้นเดินมานั่งบนอาสนะที่เดิม ก่อนจะกราบทูลความถวายว่า
"มหาบพิตร การเสด็จพระราชดำเนินสู่ยุโรปครั้งนี้ จะต้องประสบภัยสองครั้ง ครั้งแรกในทะเลที่วังวน อาตมาจะถวายผ้ายันต์พิเศษและคาถากำกับ เมื่อเข้าที่คับขันขอให้ทรงเสด็จไปยืนที่หัวเรือ แล้วภาวนาคาถากำกับผ้ายันต์แล้วโบกผ้านั้น จะเกิดลมมหาวาตะพัดให้เรือหลุดจากการเข้าสู่วังวนได้
ภัยครั้งที่สองเกิดจากสัตว์จตุบท (สี่เท้า) คืออัศดรชาติอันดุร้ายที่ฝ่ายตรงข้ามจะทดลองพระองค์อาตมาจะถวายคาถาพิเศษสำหรับภาวนาเวลาถอนหญ้าให้อัศดรอันดุร้ายนั้นกิน จะคลายพยศและสามารถประทับบังคับให้ทำตามพระราชหฤทัยได้เหมือนม้าเชื่อง" ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่เล่าลือกันมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าหลวง(ร.5) ปู่ย่าตายายได้เล่าสืบทอดกันมาอันมีส่วนหนึ่งเกี่ยวพันกับพระบรมรูปทรงม้าที่ลานพระราชวังดุสิต
คาถาเสกหญ้าให้ม้ากินที่หลวงปู่เอี่ยมถวายนั้น คือ "คาถาอิติปิโสเรือนเตี้ย" หรือ "มงกุฎพระพุทธเจ้า" มีตัวคาถาว่า"อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตังพุทธะปิติอิ "
หลังจากได้ทรงมีพระราชดำรัสกับพระปลัดเอี่ยมพอสมควรแก่เวลาแล้ว ก็ทรงถวายจตุปัจจัยไทยทานแด่พระปลัดเอี่ยม จากนั้นได้เสด็จทอดพระเนตรโดยรอบวัดโคนอน ซึ่งตอนนี้มีผู้จดจำพระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าได้แม่นยำ ได้บอกกันออกไป ทำให้มีผู้มาหมอบเฝ้ารับเสด็จกันเป็นจำนวนพอสมควร ครั้นทรงสำราญพระอิริยาบถพอสมควรแล้ว ก็เสด็จกลับสู่พระบรมมหาราชวัง เพื่อเตรียมพระองค์ไปทวีปยุโรปต่อไป
การเสด็จประพาสยุโรปในครั้งแรก เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ (ร.ศ. ๑๑๖) ได้ทรงเตรียมการทุกอย่างไว้เป็นอย่างดียิ่ง ในส่วนที่เป็นกิจการภายในประเทศ ได้ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อหน้ามหาสมาคม จากนั้นได้ทรงถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้ามหาสมาคมซึ่งประกอบไปด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ เหล่าเสนามหาอำมาตย์ ข้าราชบริพาร และพระราชาคณะอันมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร บางลำภู กรุงเทพฯ มีใจความสำคัญ ดังนี้
๑. จักไม่เปลี่ยนแปลงจากพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาอื่น
๒. จักเสวยน้ำจัณฑ์ (เหล้า) ต่อเมื่อไม่เป็นการผิดพระราชประเพณีต่อฝ่ายที่จะกระชับสัมพันธไมตรี และจะเสวยเพียงเพื่อไมตรีไม่ให้เสียพระเกียรติยศ
๓. จะไม่ล่วงประเวณีต่อสตรีไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติใด ตลอดเวลาที่พ้นออกไปจากพระราชอาณาเขตสยาม
ซึ่งท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่า การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ ไม่ได้เป็นไปเพื่อความสำราญส่วนพระองค์ แต่ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์เพื่อประเทศชาติโดยแท้ จากจดหมายเหตุและพระราชหัตถเลขา ที่ทรงมีมายังพระพันปีหลวงผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ทรงบอกชัดเจนว่า
ทรงต้องผจญภัยในท้องทะเล กับคลื่นลมที่แปรปรวน ทรงพบกับความลำบากนานาประการอาทิ ต้องทรงงดเสวยพระโอสถหมากและพระโอสถมวน (หมาก พลู บุหรี่) และต้องให้ช่างมาขูดคราบพระทนต์ (ฟัน) ที่เกิดจากคราบหมากคราบปูนออกเพื่อให้พระทนต์ขาว ห้องพระบรรทมในเรือพระที่นั่งก็ไม่สะดวกสบาย อากาศร้อนเป็นที่สุด การเสวยก็ไม่เป็นไปตามที่ทรงพระประสงค์ ฯลฯ ซึ่งความยากลำบากเหล่านี้เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาแรมเดือน ในช่วงที่ต้องใช้ทะเล มหาสมุทร เป็นเส้นทางเสด็จและในช่วงที่เสด็จรอนแรมในท้องทะเลนั่นเอง คำพยากรณ์ข้อที่ ๑ ของหลวงปู่เอี่ยม วัดโคนอนก็เป็นจริง
เมื่อเรือพระที่นั่งแล่นอยู่ในบริเวณใกล้กับ สะดือทะเล หรือ "ซากัสโซ ซี" อันบริเวณนั้นมักจะเกิดน้ำวนเป็นประจำ และเรือลำใดบังเอิญหลงเข้าไปในวังน้ำวนนั้น ก็มีหวังจมลงอับปางเป็นแน่แท้ และแล้วเรือพระที่นั่งมหาจักรี ก็พลัดเข้าไปในวังวนนั้นจนได้
กัปต้นคัมมิง (Commander Cumming) แห่งราชนาวีอังกฤษซึ่งไทยได้ขอยืมตัวมาเป็นผู้บังคับการเรือพระที่นั่งเป็นการชั่วคราว ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มสติกำลังความสามารถ บังคับเรือให้สู้กับแรงหมุนและดูดอย่างเต็มที่ ด้วยหากเรือพระที่นั่งเข้าปากวังวนแล้วการรอดออกมานั้นหมดหนทาง
ในขณะที่วิกฤตินั้น ได้มีผู้เข้าไปกราบทูลให้ทรงทราบ เมื่อระลึกถึงคำพยากรณ์ของพระปลัดเอี่ยมข้อแรกขึ้นมาได้ ก็ทรงจัดฉลองพระองค์ให้รัดกุม อาราธนาผ้ายันต์ของพระปลัดเอี่ยมติดมาด้วย เมื่อเสด็จมาถึงตอนหัวเรือ กัปตันกำลังแก้ไขสถานการณ์สุดกำลัง ทรงไม่รบกวนสมาธิของกัปตัน แต่เสด็จไปยืนอธิษฐานจิตถึงพระรัตนตรัย พระสยามเทวาธิราช และบารมีทศพิธราชธรรม และการเลิกทาสที่ทรงพระวิริยะอุตสาหะในการช่วยเหลือพสกนิกรให้พ้นจากการเป็นทาส จบลงด้วยพระปลัดเอี่ยมและผ้ายันต์ ทรงโบกผ้ายันต์นั้นไปมาด้วยความมั่นพระราชหฤทัย แล้วปาฎิหาริย์ก็ปรากฎ เหตุการณ์ก็แปรเปลี่ยน จู่ ๆ ก็เกิดลมมหาวาตะพัดมาในทิศทางที่อยู่ในแนวเดียวกับวังวน แรงลมทำให้เกิดกระแสคลื่นสะกัดกระแสวนของวังน้ำ ดันเรือพระที่นั่งให้พ้นจากแรงดูดสามารถตั้งเข็มเข้าสู่เส้นทางได้ ท่ามกลางเสียงร้องตะโกนว่า "ฮูเรย์" ของกัปตันและลูกเรือ
ส่วนผู้ติดตามเสด็จนั้นอ้าปากค้างทำอะไรไม่ถูก จนทรงพับผ้ายันต์เก็บแล้วนั่นแหละ จึงค่อย ๆร้องว่า สาธุ สาธุ คำพยากรณ์ข้อแรกเป็นที่ประจักษ์แก่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงว่า "แม่นยำยิ่งนัก" คงเหลือแต่คำพยากรณ์ข้อที่สองซึ่งยังมาไม่ถึง แต่ก็ทรงเตรียมพระองค์รับสถานการณ์หากจะเกิดขึ้น
เส้นทางเสด็จพระราชดำเนินนั้น มีช่วงที่รอนแรมในมหาสมุทรอินเดียยาวนานถึง ๑๕ วัน ๑๕คืน คือเส้นทางระหว่างเมืองกอล (Galle) ประเทศศรีลังกา ไปยังเมืองเอเดน (Aden) เมืองท่าปากทางเข้าสู่ทะเลแดงของประเทศเยเมน ช่วงนี้แหละที่น่าจะเป็นช่วงอันตรายที่สุดและลำบากที่สุด เหตุการณ์ตามคำพยากรณ์ข้อที่ ๑ ข้างต้น คงเกิดในช่วงเส้นทางนี้ คือระหว่างวันที่ ๒๓ เมษายน ถึง ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ (ขอย้ำอีกครั้ง เ%B style="color: black; "> เมื่อเสด็จมาถึงตอนหัวเรือ กัปตันกำลังแก้ไขสถานการณ์สุดกำลัง ทรงไม่รบกวนสมาธิของกัปตัน แต่เสด็จไปยืนอธิษฐานจิตถึงพระรัตนตรัย พระสยามเทวาธิราช และบารมีทศพิธราชธรรม และการเลิกทาสที่ทรงพระวิริยะอุตสาหะในการช่วยเหลือพสกนิกรให้พE0อียด ณ ที่นี้ เมื่อพระองค์เสด็จถึงประเทศฝรั่งเศสประธานาธิบดี เฟลิกซ์ ฟอร์ ได้ถวายการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ แม้จะไม่เต็มใจนัก แต่แรกไม่คิดจะต้อนรับขับสู้อย่างดีหรอกครับแต่สืบข่าวดูแล้ว ทุกประเทศที่พระองค์เสด็จผ่านมาก่อนหน้าที่จะเข้าฝรั่งเศส ไม่ว่าจะเป็นสวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี ออสเตรีย ฮังการี รัสเซีย เดนมาร์ก อังกฤษเบลเยี่ยม เยอรมัน ต่างก็ถวายการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ โดยเฉพาะรัสเซีย พระเจ้าซาร์ นิโคลัสทรงยกย่องนับถือเสมือนหนึ่งพระอนุชาร่วมอุทรของพระองค์เอง มีการฉายภาพพระบรมฉายาลักษณ์คู่กัน เผยแพร่ไปทั่วยุโรป แล้วอย่างนี้ "เจ้าเศษฝรั่ง" จะทำเป็นทองไม่รู้ร้อนได้อย่างไร



 ในช่วงที่ทรงพำนักในกรุงปารีส ฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ ๑๑ กันยายน ถึง ๑๗ กันยายน ๒๔๔๐นี่เอง ที่พระองค์ได้ประสบกับความแม่นยำในอนาคตังสญาณของพระปลัดเอี่ยม ข้อที่ ๒ หากไม่ได้เตรียมการ หรือเตรียมพระองค์ล่วงหน้าแล้ว มีหวังที่จะต้องเอาพระชนม์ชีพไปทิ้งเสียที่นี่กระมัง

โบราณว่าไว้ "หากไม่เข้าถ้ำเสือ แล้วจะได้ลูกเสืออย่างไร ? " เป็นบทท้าทายคำพิสูจน์ให้เห็นเด่นชัดตอนที่ล้นเกล้า ร.๕ พระปิยมหาราชเสด็จพระราชดำเนินเหยียบดินแดนของผู้ที่ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นศัตรูที่ร้ายกาจหวังจะครอบครองแผ่นดินไทยให้ได้ทั้งหมด แม้จะได้เป็นบางส่วนแล้วก็ตามก็หาเป็นที่พอใจไม่
ในช่วงที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนทวีปยุโรปครั้งแรก เมื่อ ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๐) นั้น สยามประเทศของเรายังคงมีกรณีพิพาทต่อกันในเรื่อง "สิทธิสภาพนอกอาณาเขต" กล่าวคือเราต้องยอมให้อังกฤษและฝรั่งเศสตั้งศาลกงสุลของตนในดินแดนไทย สำหรับตัดสินคดีความต่าง ๆ เมื่อคนของเขา หรือคนใดก็ตามแม้แต่คนไทยหัวใสบางคนที่ยอมตนจดทะเบียนเป็นคนในบังคับ (คล้าย ๆ กับการโอนสัญชาติ แต่ไม่ใช่ เพราะยังไม่มีสิทธิที่จะพำนักในประเทศของเขา ) ซึ่งก็มีจำนวนไม่น้อย เพราะเวลาทำผิดแล้วไม่ต้องขึ้นศาลไทย ไม่ใช้กฎหมายไทยตัดสิน คนไทยเองก็เถอะ หากทำความผิดต่อคนของเขาแล้ว ต้องขึ้นศาลเขาและต้องยอมเขาทุกอย่าง (คุ้นๆไหมเอ่ย) แม้ศาลไทยจะตัดสินว่า "ถูก" หากเขาเห็นว่า "ผิด"คนผู้นั้นก็ต้องถูกลงอาญา ซึ่งเป็นหนามยอกอกของคนไทยในสมัยนั้นมาก ต้องยอมให้คนต่างชาติต่างแดนมากดหัวเรา มาเอาเปรียบเรา เป็นการยั่วยุให้เราหมดความอดทน หากก่อสงคราม ก็มีหวังสูญเสียเอกราชของชาติแน่นอน
กรณี "พระยอดเมืองขวาง" แขวงเมืองคำเกิดคำมวน วีรบุรุษไทยที่รักผืนแผ่นดินไทย รักในองค์พระมหากษัตริย์ไทย ได้ดับความอหังการ์ของทหารฝรั่งเศสที่บุกรุกอธิปไตยของไทยที่เมืองขวาง จนต้องถูกจำคุกเสียหลายปี แม้ศาลไทยจะให้ปล่อยตัวเพราะเป็นการทำตามหน้าที่ แต่ศาลกงสุลของฝรั่งเศสในไทยตัดสินให้จำคุก ท่านก็ต้องติดคุกเพื่อชาติ เรื่องนี้คนไทยทั้งแผ่นดินในขณะนั้น แค้นแทบจะกระอักเลือดเลยครับ เกือบจะทำสงครามกันรอมร่ออยู่แล้ว ดีแต่องค์พระปิยมหาราชเจ้า ท่านทรงดำเนินวิเทโศบายด้านต่างประเทศด้วยการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ในยุโรปเสียก่อน แล้วพระองค์ก็ทรงทำสำเร็จเสียด้วย ผู้ที่แค้นแทบจะกระอักเลือดแทน ก็คงจะเป็น "เจ้าเศษฝรั่ง" น่ะเองซึ่งมันก็รอจังหวะและโอกาสที่จะล้างแค้นเหมือนกัน มันคิดว่า
"หากไม่มีล้นเกล้า ฯ ร.๕ เสียพระองค์หนึ่ง สยามประเทศเราก็เปรียบเสมือนมังกรที่ไร้หัว"ที่นี้คงมีโอกาสมากขึ้นหากจะฮุบประเทศชาติของเราไว้ในกำมือ และแล้วแผนการอันแยบยลก็อุบัติขึ้นเมื่อพระองค์เสด็จเยือนประเทศฝรั่งเศส แม้เขาจะต้อนรับพระองค์อย่างสมพระเกียรติก็ตาม แต่นั่นเป็นเพียงหน้าฉากเท่านั้น หลังฉากน่ะหรือ ? ได้กำหนดขึ้นเพื่อต้อนรับพระองค์ไว้เรียบร้อยแล้ว ในสนามแข่งม้าชานกรุงปารีสนั่นเอง เมื่อพระองค์ได้รับคำทูลเชิญให้เสด็จทอดพระเนตรการแข่งม้านัดสำคัญนัดหนึ่งซึ่งมีขุนนาง ข้าราชการ พระบรมวงศานุวงศ์ฝรั่งเศสมาชมกันมาก พวกมันได้นำเอาม้าดุร้ายและพยศอย่างร้ายกาจมาถวายให้ทรงประทับ โดยถือโอกาสขณะที่อยู่ท่ามกลางมหาสมาคม แม้รู้ว่าม้านั้นดุร้าย พระปิยมหราชเจ้าก็จะไม่ทรงหลีกหนี ด้วยขัตติยะมานะที่ทรงมีอยู่ในฐานะผู้นำประเทศ หากทรงพลาดพลั้งนั่นคือ "อุบัติเหตุ" ใครก็จะเอาผิดหรือต่อว่าเจ้าเศษฝรั่งไม่ได้
ม้าตัวนั้นเล่าลือกันว่า เคยโขกกัดผู้เลี้ยงดูและผู้หาญขึ้นไปขี่ตายมาแล้วหลายคน จะเอาไปไหนต้องมีคนจูงด้วยเชือกล่ามเท้าทั้งสี่ไว้ เพื่อป้องกันการพยศและขบกัดผู้คน นัยว่าเป็นม้าของเจ้าชายแห่งฝรั่งเศสพระองค์หนึ่ง เมื่อถูกนำเข้ามาในสนาม ทุกคนก็ส่งเสียงร้องด้วยความตกใจและหวาดกลัว ตัวแทนรัฐบาลฝรั่งเศสเริ่มวางหลุมพราง โดยกราบบังคมทูลว่า
"ไม่ทราบเกล้าว่าเมื่ออยู่ในสยามประเทศเคยทรงม้าหรือไม่ พระเจ้าข้า"
"แน่นอน ข้าพเจ้าเคยทรงอยู่เป็นประจำ เพราะในสยามประเทศก็มีม้าพันธุ์ดีอยู่มาก"
"โอ วิเศษ ขออัญเชิญพระองค์ทรงเสด็จขึ้นทรงม้า ตัวที่กำลังถูกจูงเข้ามานี้ให้ประจักษ์ชัดแก่สายตาของผู้คนในสนามม้านี้ด้วยเถิดพระเจ้าข้า"
ตัวแทนรัฐบาลฝรั่งเศสกราบทูลด้วยความกระหยิ่มใจ
"แน่นอน ข้าพเจ้าจะแสดงให้ท่านทั้งหลายได้ดูว่า กษัตริย์แห่งสยามประเทศนั้นไม่เคยหวาดหวั่นกลัวแม้แต่อัสดรที่พยศดุร้าย หรือผู้คุกคามที่มีอาวุธพร้อมสรรพ "
จบพระราชดำรัสก็ทรงลุกขึ้นเปิดพระมาลาขึ้นรับการปรบมืออันกึกก้องสนามม้าแห่งนั้น แล้วเสด็จพระราชดำเนินลงจากอัฒจันทร์ สู่ลู่ด้านล่างซึ่งขณะนั้นม้ายืนส่งเสียงร้องและเอากีบเท้าตะกุยจนหญ้าขาดกระจุยกระจาย
คำพยากรณ์ของพระปลัดเอี่ยมยังกึกก้องอยู่ในพระกรรณ ทรงก้มพระวรกายลงใช้พระหัตถ์ขวารวบยอดหญ้าแล้วดึงขึ้นมากำมือหนึ่ง ทรงตั้งจิตอธิษฐานถึงพระรัตนตรัย พระสยามเทวาธิราชและพระปลัดเอี่ยม เจริญภาวนาพระคาถาอิติปิโสเรือนเตี้ยที่พระปลัดเอี่ยมถวายสามจบ ทรงเป่าลมจากพระโอษฐ์ลงไปบนกำหญ้านั้น แล้วแผ่เมตตาซ้ำ ยื่นส่งไปที่ปากม้า เจ้าสัตว์สี่เท้าผู้ดุร้ายสะบัดแผงคอส่งเสียงดังลั่นก่อนจะอ้าปากงับเอาหญ้าในพระหัตถ์ไปเคี้ยวกินแล้วก็กลืนลงไป
ผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศสโบกผ้าเช็ดหน้า เป็นสัญญาณให้แก้เชือกที่ตรึงเท้าม้าออกไปพ้นทั้งสี่เท้าบัดนี้เจ้าสัตว์ร้ายพ้นจากพันธนาการ และบรรดาผู้ที่จูงมันเข้ามาก็ผละหนี เพราะเกรงกลัวในความดุร้ายของมัน พระปิยะมหาราชเจ้าทรงทอดสายพระเนตรจับจ้องอยู่ที่นัยน์ตาของม้านั้น ก็เห็นว่ามันมีแววตาอันเป็นปกติ มิได้เหลือกโปนดุร้าย ทรงเอื้อมพระหัตถ์ไปตบที่ขาหน้าของมันสามครั้ง เจ้าม้านั้นก็ก้มหัวลงมาดมที่พระกรไม่แสดงอาการตื่น หญ้าเสกสำริดผลตามประสงค์
อาชาที่ดุร้ายกลับเชื่องลงเหมือนม้าลากรถ เจ้าชีวิตแห่งสยามประเทศยกพระบาทขึ้นเหยียบโกลนข้างหนึ่งแล้วหยัดพระวรกายขึ้นประทับบนอานม้าอย่างสง่างามไร้อาการต่อต้านของม้าที่เคยดุร้ายเสียงคนบนอัฒจันทร์ส่งเสียงตะโกนขึ้นเป็นเสียงเดียวกันว่า "บราโวส บราโวส" อันหมายถึงว่า "วิเศษที่สุด เก่งที่สุด ยอดที่สุด" (อ่านถึงตรงนี้แล้วก็น้ำตาซึม) ทรงกระตุ้นม้าให้ออกเดินเหยาะย่างไปโดยรอบสนาม ผ่านอัฒจันทร์ที่มีผู้คนคอยชม เปิดพระมาลารับเสียงตะโกนเฉลิมพระเกียรติบางคนก็โยนหมวก โดยมีดอกกุหลาบลงมาเกลื่อนสนามตลอดระยะทางที่ทรงเหยาะย่างม้าผ่านไปจนครบรอบ จึงเสด็จลงจากหลังม้ากลับขึ้นไปประทับบนพระที่นั่งตามเดิม
บรรดาพี่เลี้ยงม้าก็เข้ามาจูงม้านั้นออกไปจากสนาม คำพยากรณ์ข้อที่สองและคาถาที่พระปลัดเอี่ยมแห่งวัดโคนอนถวาย ได้สำริดผลประจักษ์แก่พระราชหฤทัย ทรงระลึกถึงพระปลัดเอี่ยมว่า เป็นผู้ที่จงรักภักดีโดยแท้จริง และได้ช่วยให้ทรงผ่านสถานการณ์อันเลวร้ายมาถึงสองครั้งสองครา และทั้งหมดนี้คือจุดเล็ก ๆในเกร็ดพระราชประวัติ เป็นปฐมเหตุแห่งพระบรมรูปทรงม้า หน้าพระราชวังดุสิตที่เล่าขานกันต่อมาช้านาน และยังคงกึกก้องในโสตประสาทของปวงชนชาวไทยต่อไปชั่วกาลปาวสาน
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-iam-wat-nung/lp-iam-wat-nung-hist-02.htm

คาถามงกุฏพระพุทธเจ้า
ความหมายมาจาก....พุทธภูมิธรรมประการคือ
  • อิติปิโส วิเสเสอิ (ความกล้าหาญบำเพ็ยความดี) อุสาหะ
  • อิเสเสพุทธะนาเมอิ (มีปัญญา รู้เหตุ รู้ผล ดี-ชั่ว)อุมมัคคะ
  • อิเมนาพุทธะตังโสอิ (มีใจไม่ท้อถอยมุ่งมั่นกระทำความดี)อวัฏฐานะ
  • อิโสตังพุทธะปิติอิ (เสียสละกระทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์)หัตถจริยา
วิเคราะห์....พิจารณาแล้ว นอกจากสวดให้ทิพยจักษุแจ่มใส ดังสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานหลวงพ่อฤษี อานุภาพพรรณาไว้ว่า ภาวนาทุกวันกันนรก เสกน้ำล้างหน้ากันโรค แผ่เมตตาสรรพสัตว์ศตรูแพ้ภัยไปเอง ภาวนา 18 คาบสมปรารถนา นะจังงัง คาบ คาบมหาละรวย เสกสีผึ้งเสียงเพราะจับใจ เสกใบลานกันอาวุธเสก มงกุฏสวมเกล้าเป็นมงคล เนื่องจากเป็นบทสวดที่ยาว จึงไม่นิยมนำมาบริกรรมเป็นกรรมฐาน หากถอดเป็นหัวใจ4-5คำจึงจะนำมาบริกรรมเช่นสัมปจิตฉามิได้


เคล็ดในการใช้คาถา " มงกุฎพระพุทธเจ้า "

คาถามีอยู่ว่า . . .
" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิอิโสตัง พุทธปิติอิ "

ว่า 3 จบ (หรือ9 จบ)
สำหรับอานิสงค์ของคาถานี้เป็น คาถาครอบจักรวาล เรานำไปใช้ในทางกุศลได้
ทุก ๆ เรื่อง โดยมีประวัติ ของการใช้คาถานี้มายาวนาน ส่วนใหญ่ในราชสำนัก แม้ พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้า รัชกาลที่ 5 ท่านก็ทรงพระคาถานี้ดังกล่าวข้างต้น
คราวนี้เรามาดูว่าเคล็ดในการว่าคาถาบทนี้กัน
หลักในการว่าคาถาให้มีความศักดิ์สิทธิ์นั้น มีพื้นฐานจาก จิต " เป็นสำคัญ หากจิตมีสมาธิสูง ตั้งมั่นคาถาก็ยิ่งทรงความศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นระหว่างที่ว่าคาถาให้ จับลมหายใจสบายพร้อม ๆ กับ
การภาวนาคาถาบทนี้ เป็นขั้นที่ 1 ระดับสูงกว่านี้ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ท่านใช้คาถาบทนี้
โดยมีนิมิต กำกับคาถา โดยทรงพุทธนิมิต ไว้ดังนี้ โดยตั้งกำลังใจว่าเรา ขอกราบอาธารณาบารมี
พระพุทธเจ้าเสด็จประทับเหนือเศียรเกล้าของข้าพเจ้า เพื่อปกปักรักษาคุ้มครองข้าพเจ้าด้วยเทอญ

หรือ
ขึ้นต้นด้วย พระคาถา ควรตั้ง นะโม3 ก่อนทุกครั้งไปแล้วสวดว่าดังนี้

"อิ ติ ปิ โส วิ เส เส อิ 
อิ เส เส พุท ธะ นา เม อิ 
อิ เม นา พุท ธะ ตัง โส อิ
อิ โส ตัง พุท ธะ ปิ ติ อิ " 3 หรือ 9 จบ แล้วอธิฐานตามต้องการ


คาถามงกุฏพระพุทธเจ้าคาถามงกุฏพระพุทธเจ้า เป็นพ่อแม่แห่งคาถา เป็นคาถาสำคัญอันผู้ศึกษาสรรพวิชาต้องเรียนรู้สำหรับครอบคาถาทั้งปวง คาถามงกุฏพระพุทธเจ้า ใช้ภาวนาเสกล้างหน้าทุกวันตอนเช้า จะเสริมสง่าราศี เสริมอำนาจบารมี ป้องกันผองภัยแคล้วคลาดศาสตราอาวุธ ป้องกันภูติพราย ภยันตรายทั้งปวงทั้งหลายไม่มาแผ้วพานใช้ได้สารพัดตามแต่จะอธิฐาน


จากเกร็ดความรู้ข้างต้น ทำให้ข้าพเจ้า รู้สึกซาบซึ้งในพระคุณอันใหญ่หลวงดังนี้

1.พระบารมีแห่งพระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์ และหลวงปู่เอี่ยม ที่มีมหาอำนาจและบารมี คอยปกปักรักษาพระพุทธเจ้าหลวงแห่งดินแดนสยามประเทศ
2. พระมหากรุณาธิคุณ และพระปัญญาของพระพุทธเจ้าหลวงแห่งปวงชนชาวสยาม(ร.5)
ที่ทรงเสียสละเพื่อปกป้องสยามประเทศสุดพระกำลัง ด้วยพระบารมีแห่งพระธรรมราชา
3. พระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวข้างต้น

ท่านผู้อ่าน เห็นด้วยไหมเจ้าคะ ?

คำขอขมาพระรัตนตรัย


คำขอขมาพระรัตนตรัย




นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ 
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ 
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ 

สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต 
อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม 
ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต ฯ

หากข้าพระพุทธเจ้าได้ประมาทพลาดพลั้ง ล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ 
พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย 
ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ด้วยทางกายหรือวาจาก็ดี และด้วยเจตนาหรือไม่มีเจตนาก็ดี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี
ขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย
และผู้มีพระคุณทุกท่าน ได้โปรดอดโทษให้แก่ข้าพระพุทธเจ้าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท้าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ. ๚ะ

คาถาหนีเคราะห์ ของหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง


คาถาหนีเคราะห์



นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ

(คาถาบารมี 30 ทัศ)

อิติปารมิตา   ติงสา 
อิติสัพพัญญู    มาคตา 
อิติโพธิ    มนุปปัตโต 
อิติปิโส จะเตนะโม

(คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า)

อิติปิโส     วิเสเสอิ 
อิเสเส     พุทธะ     นาเมอิ
 อิเมนา     พุทธะ     ตังโสอิ 
อิโสตัง     พุทธะ     ปิติอิ


พุทธะมะอะอุ ทุกขัง อนัตตา สัมปจิตฉามิ 

(ว่า 3 จบ)

แล้วนึกถึงพระ อธิษฐานว่า..........

"ขอเคราะห์กรรมทั้งหลายจงอย่าตามเราทัน"


ทำเป็นน้ำมนต์อาบด้วยก็ได้ แล้วก็อธิษฐานเหมือนกัน 
ต่อด้วยว่า........

"ขอความเป็นอัปมงคลทั้งหลายจงถูกล้างหายไป"


คาถานี้หลวงพ่อฤาษีฯ(วัดท่าซุง)ให้ไว้กับหลวงพ่อมนัสที่จันทบุรีเมื่อประมาณ 30 ปีก่อน 
เป็นคาถาเฉพาะบุคคล ตอนนี้เป็นสาธารณะแล้ว




พระคาถาธารณปริตร (ป้องกันภัยพิบัติ และมีอานุภาพมาก)

พระคาถาธารณปริตร

(ป้องกันภัยพิบัติ และมีอานุภาพมาก)


       น้อมรำลึกถึงพระปัญญาธิคุณ พระเมตตาธิคุณ  พระมหากรุณาธิคุณ  แห่งสมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ โดยกล่าวคำนอบน้อมนมัสการ คือ

         นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 
         นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
         นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ


๑. พุทธานัง ชิวิตตัสสะ นะ สักกา เกนะจิ อันตะราโย กาตุง ตถา เม โหตุ 
อตีตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต อัปปฏิหะตะญานัง
อนาคตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต อัปปฏิหะตะญาณัง
ปัจจุบันนัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต อัปปฏิหะตะญาณัง

๒. อิเมหิ ตีหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต
สัพพัง กายะกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง
สัพพัง วจีกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง 
สัพพัง มะโนกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง

๓. อิเมหิ ฉะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต
นัตถิ ฉันทัสสะ หานิ นัตถิ ธัมมะเทสนายะ หานิ 
นัตถิ วิริยัสสะ หานิ นัตถิ วิปัสสะนายะ หานิ
นัตถิ สมาธิธัสสะ หานิ นัตถิ วิมุตติยา หานิ

๔. อิเมหิ ทะวาทะสะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต 
นัตถิ ทะวา นัตถิ ระวา นัตถิ อัปผุฏฏัง นัตถิ เวคายิตัตตัง
นัตถิ พะยาวะฏะมะโน นัตถิ อัปปฏิสังขารุเปกขา

๕. อิเมหิ อัฏฐาระสะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต
นะโม สัตตันนัง 
สัมมาสัมพุทธานัง นัตถิ ตะถาคะตัสสะ กายะทุจริตตัง
นัตถิ ตะถาคะตัสสะ วจีทุจริตตัง 
นัตถิ ตะถาคะตัสสะ มะโนทุจริตตัง
นัตถิ อตีตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิหะตะญาณัง 
นัตถิ อนาคตัง เส 
พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิหะตะญานัง นัตถิ ปัจจุบันนัง เส 
พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิหะตะญานัง 
นัตถิ สัพพัง กายะกัมมัง ญาณานุปุพพัง คะมัง ญาณัง นานุปริวัตตัง 
นัตถิ สัพพัง วจีกัมมัง ญาณานุปุพพัง คะมัง ญาณัง นานุปริวัตตัง
นัตถิ สัพพัง มะโนกัมมัง ญาณานุปุพพัง คะมัง ญาณัง นานุปริวัตตัง
อิมัง ธาระณัง อะมิตัง อะสะมัง สัพพะสัตตานัง ตาณังเลณัง 
สังสาระ ภะยะภีตานัง อัคคัง มหาเตชัง

๖. อิมัง อานันทะ ธาระณะปริตตัง ธาเรหิ วาเรหิ ปริปุจฉาหิ
ตัสสะ กาเย วิสัง นะ กะเมยยะ อุทะเกนะ ลัคเคยยะ อัคคีนะ
ทะเหยยะ นานาภะยะวิโก นะ เอกาหาระโก นะ ทะวิหาระโก นะ
ติหาระโก นะ จะตุหาระโก นะ อุมมัตตะกัง นะ มุฬะหะกัง 
มนุสเสหิ อะมนุสเสหิ นะ หิงสะกา

๗. ตัง ธาระณัง ปริตตัง ยถา กะตะเม 
ชาโล มหาชาโล ชาลิตเต มหาชาลิตเต ปุคเค มหาปุคเค 
สัมปัตเต มหาสัมปัตเต ภูตัง คะมะหิ ตะมังคะลัง

๘. อิมัง โข ปะนานันทะ ธาระณะปริตตัง สัตตังสะเตหิ สัมมา 
สัมพุทธโกฏีหิ ภาสิตัง
วัตเต อะวัตเต คันธะเว อะคันธะเว โนเม อะโนเม เสเว อะเสเว
กาเย อะกาเย ธาระเณ อะธารระเณ 
อัลลิ มิลลิ ติลลิ มิลลิ โยรุกเข มหาโยรุกเข ภูตัง คะมะหิ
ตะมังคะลัง

๙. อิมัง โข ปะนานันทะ ธาระณะปริตตัง นะวะ นะ วุติยา สัมมา
สัมพุทธโกฏีหิ ภาสิตัง
ทิฏฐิลา ทัณทิลา มันติลา โรคิลา ขะระลา ทุพพิลา เอเตนะ สัจจะ
วัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา

คำแปลพระคาถาธารณปริตร

๑.  อันชีวิตแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย 
อันใครๆ ไม่อาจทำอันตรายได้ฉันใด
ขอชีวิตความเป็นอยู่แห่งข้าพเจ้า จงเป็นเหมือนเช่นกัน
อันว่าญาณที่ไม่มีเครื่องกระทบของพระพุทธเจ้าผู้มีบุญย่อมมีในอดีต ในอนาคต ในปัจจุบัน

๒.  อันว่ากายกรรมทั้งปวงของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรมทั้งหลายสามเหล่านี้มีญาณเป็นประธานเป็นไปตามญาณ
อันว่าวจีกรรมทั้งปวงของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรมทั้งหลายสามเหล่านี้มีญาณเป็นประธานเป็นไปตามญาณ
อันว่ามโนกรรมทั้งปวงของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรมทั้งหลายสามเหล่านี้มีญาณเป็นประธานเป็นไปตามญาณ

๓.  อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงของประโยชน์ที่ประสงค์
ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีบุญ ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรม ๖ ประการเหล่านี้
อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงแห่งการแสดงธรรม
ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงของความเพียร
ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงของวิปัสสนาญาณ
ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงแห่งกามาวจรและรูปาวจรวิมุตติ
ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าการพูดเล่น ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
ผู้มีบุญ ผู้ประกอบด้วยคุณธรรมทั้งหลาย ๑๒ ประการเหล่านี้
อันว่าการพูดพลั้งเผลอโดยขาดสติ
ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

๔.  อันว่าความไม่แพร่หลายในเญยยะธรรม ๕
ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าการกระทำใดๆ อย่างผลุนผลัน โดยไม่มีการพิจารณาเสียก่อน
ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าความมีใจวุ่นวายด้วยกิเลส
ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าการกระทำที่ไม่มีอุเบกขาในเตภูมิสังขาร
ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

๕.  อันว่าความเคารพนอบน้อม
ขอจงมีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
ผู้มีบุญ ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรม ๑๘ ประการเหล่านี้
อันว่ากายทุจริต ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต
อันว่าวจีทุจริต ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต
อันว่ามโนทุจริต ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต
อันว่าญาณ อันมีเครื่องกระทบขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
ผู้มีบุญ ย่อมไม่มีในอดีต
อันว่าญาณ อันมีเครื่องกระทบขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
ผู้มีบุญ ย่อมไม่มีในปัจจุบัน
อันว่าญาณ อันมีเครื่องกระทบขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 
ผู้มีบุญ ย่อมไม่มีในอนาคต
อันว่ากายกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ
ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าวจีกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ
อันว่ามโนกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ
ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่า ธารณปริตร นี้ ไม่มีเครื่องเทียบ ไม่มีเครื่องเสมอเหมือน
เป็นที่ต่อต้าน เป็นที่หลบซ่อนของสัตว์
ผู้ที่กลัวภัยในสังสารวัฏทั้งหลาย อัคคัง ประเสริฐ มหาเตชัง มีเดชมาก

๖.  ดูกรอานนท์ ท่านจงท่องจดจำ สอบถาม ซึ่งธารณปริตนี้
อันว่ากายของผู้ท่องสวดมนต์ธารณปริตนี้ ไม่พึงตายด้วยพิษงู พิษนาค 
ไม่พึงตายในน้ำ อันว่าไฟไม่พึงไหม้เป็นผู้พ้นภัยพิบัติต่างๆ 
ใครคิดทำร้ายในวันเดียวก็ไม่สำเร็จ ใครคิดร้ายทำลายในสองวัน สามวัน สี่วัน...ก็ไม่สำเร็จ 
ไม่พึงเป็นโรคหลงลืม ไม่พึงเป็นบ้าใบ้
อันมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย ไม่สามารถเบียดเบียนได้

๗. อันว่าธารณปริตรนี้ มีความศักดิ์สิทธิ์ คือ
ชาโล มีอานุภาพเหมือนพระอาทิตย์ ประชุมกัน ๗ ดวง ที่ขึ้นมาในเวลาโลกาพินาศ
มหาชาโล มีอานุภาพเหมือนมุ้งเหล็ก ที่สามารถป้องกันภัยจาก 
เทวดา อินทร์ นาค ครุฑ ยักษ์ เป็นต้น
ชาลิตเต มีอานุภาพประหารศัตรูทั้งหลาย
มหาชาลิตเต มีอานุภาพให้พ้นจากกัปทั้ง ๓ คือ
โรคันตรกัป, สัตถันตรกัป และทุพภิกขันตรกัป
มีอานุภาพให้พ้นจากโรคต่างๆ ในเวลาปฏิสนธิคือ
การเป็นใบ้ เป็นคนพิการ เป็นคนหูหนวก
อีกทั้งไม่พึงตกต้นไม้ ตกเหว ตกเขาตาย 
สามารถได้สมบัติที่ยังไม่ได้ ทรัพย์สมบัติที่ได้มาแล้วก็จะเจริญขึ้น
โดยความเป็นจริง สามารถประหารความมืด แล้วได้ความสว่าง

๘.  ดูกรอานนท์ อันธารณปริตร ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย 
ทรงตรัสไว้พึงสมาคมคนดี ไม่พึงสมาคมคนชั่ว
พึงนำมาซึ่งกลิ่นและรสอันเป็นธรรม
พึงน้อมนำมาซึ่งน้ำใจดี ไม่พึงน้อมนำมาซึ่งน้ำใจร้าย
พึงทำกายให้เป็นกายดี
พึงนำมาแต่สิ่งอันเป็นกุศล ไม่พึงนำมาซึ่งสิ่งอันเป็นอกุศล
พึงฟังแต่สิ่งที่ดี ไม่พึงฟังสิ่งที่ไม่ดี
พึงเห็นแต่นิมิตดี ไม่พึงเห็นนิมิตร้าย
โยรุกเข ต้นไม้ที่ตายแล้วสามารถฟื้นขึ้นมาได้
มหาโยรุกเข ต้นไม้ที่ยังเป็นอยู่ ก็ทำให้เจริญงอกงามโดยความเป็นจริง
สามารถประหารความมืด แล้วได้ความสว่าง

๙.  ดูกรอานนท์ อันธารณปริตรนี้ สามารถรู้ความคิดร้ายของผู้อื่น
อาวุธต่างๆ มีเครื่องประหาร เช่น มีด หอก ปืน ไฟ เป็นต้น ไม่สามารถทำอันตรายได้
มันติลา สามารถทำมนต์คาถา ให้มีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้น
สามารถประหารโรคต่างได้ 
และโรคร้ายแรงต่างๆ ไม่อาจทำอันตรายได้
ทุพพิลา สามารถหลุดพ้นจากเครื่องผูกมัด
ด้วยอำนาจแห่งสัจจะวาจานี้ ขอความสวัสดีมีชัยจงมีแก่ข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อเถิด.


ความเป็นมาของพระคาถาธารณปริตร


       เมื่อครั้งออกพรรษาปี ๒๕๒๖ พระป่ากรรมฐานรูปหนึ่งได้มีโอกาสออกวิเวกเจริญ
รุกขมูล ธุดงค์ทางภาคเหนือและชายแดนฝั่งพม่าเขตติดต่อพรมแดนในแวดวงหมู่บ้าน
ชาวเขาเผ่าต่างๆนานเกือบ ๓ เดือน ขณะปักกลดพักที่ดอยพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้
จ.ลำพูนได้พบและปรึกษาธรรมปฎิบัติและอื่น ๆ กับพระอาจารย์รังสรรค์  โชติปาโล
ซึ่งเพิ่งธุดงค์เดินป่ามาจากประเทศพม่า และได้จดจำเอา"พระคาถาธารณปริตร" จาก
วัดอรัญตะยา ในมัณฑะเลย์ ประเทศพม่ามาด้วย
      เนื่องจากเห็นว่าเป็นบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณที่ในประเทศไทย ยังไม่คุ้นเคย
หรือมีปรากฎมาก่อนจะด้วยสาเหตุใดก็ตามทีเมื่อพระป่ามาพบกันหลายองค์ที่จังหวัด
ลำพูน ก็ได้นำพระคาถาธารณปริตรนี้ ทำวัตรเย็นร่วมกัน ติดต่อกันอยู่ ๕ วัน ก่อนทำ
เพียรภาวนาทุกค่ำคืนได้ปรากฏเห็นหมู่เทวาอารักษ์ในนิมิตมาชุมนุมและร้องชมเชย
สรรเสริญ ชื่นบาน ร่าเริงมาก ที่ได้ยินพระป่ากรรมฐานเจริญ พระคาถาธารณปริตร
อันทรงคุณเป็นเลิศนี้
       พระภิกษุกรรมฐานทั้ง ๕-๖ รูปนี้ ครั้นเจริญพระปริตรที่ห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน
ต่างได้เห็นนิมิตเทวาอารักษ์ ชื่นชมตรงกันทั้งสิ้น แม้จะน้อมนำทำน้ำพระพุทธมนต์
โปรดหมู่ญาติโยมในที่ต่างๆก็ศักดิ์สิทธิ์เหลือประมาณ จึงได้พิจารณาเห็นว่าพระพุทธา
นุภาพของพระปริตร บทนี้ ทรงคุณเหลือประมาณ สมควรที่พุทธศาสนิกชนทุกท่าน
จะได้นำไปสาธยายบูชาต่อไป
       อนึ่ง ข้าพเจ้าได้ทราบจากหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ว่า ผู้ที่สาธยายมนต์พระปริตร
บทนี้ทุกๆวัน อย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง พร้อมกับเร่งบริจาคทาน รักษาศีลและเจริญภาวนา
จะสามารถรอดพ้นจากวิกฤตมหาอุบัติภัยโลกที่จะบังเกิดขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์ และ
แม้ในที่สุดยังสามารถช่วยบรรเทาภัยพิบัติของโลกให้บางเบาลดน้อยลงไปได้
       โดยหลังจากเจริญพระปริตรบทนี้แล้ว ให้ตั้งจิตน้อมแผ่เมตตา แผ่คุณความดี
บุญกุศลของเราที่ได้ปฏิบัติบำเพ็ญมานับแต่อดีตชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ อุทิศให้กับ
เจ้ากรรมนายเวรของตนเองและเจ้ากรรมนายเวรของสรรพชีวิตทั้งหลาย ทั่วไตรโลกธาตุ
อนันตจักรวาล ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาตินี้
และกระทำจิตให้นิ่ง ว่างเปล่าชั่วขณะ แล้วภาวนาว่า

        “ พุทธัง อนันตัง ธัมมัง จักรวาลัง สังฆัง นิพพานะ ปัจจโย โหตุ ”

       น้อมจิตอุทิศกุศลไปโดยรอบทั่วไตรโลกธาตุ ความวิบัติต่างๆ ก็จะบรรเทาลง

ที่มา : เอกสารโรเนียวแจกเป็นธรรมทาน ของกองธรรมพระศรีอารย์