พระคาถาธารณปริตร
(ป้องกันภัยพิบัติ และมีอานุภาพมาก)

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ โดยกล่าวคำนอบน้อมนมัสการ คือ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
๑. พุทธานัง ชิวิตตัสสะ นะ สักกา เกนะจิ อันตะราโย กาตุง ตถา เม โหตุ
อตีตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต อัปปฏิหะตะญานัง
อนาคตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต อัปปฏิหะตะญาณัง
ปัจจุบันนัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต อัปปฏิหะตะญาณัง
๒. อิเมหิ ตีหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต
สัพพัง กายะกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง
สัพพัง วจีกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง
สัพพัง มะโนกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง
๓. อิเมหิ ฉะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต
นัตถิ ฉันทัสสะ หานิ นัตถิ ธัมมะเทสนายะ หานิ
นัตถิ วิริยัสสะ หานิ นัตถิ วิปัสสะนายะ หานิ
นัตถิ สมาธิธัสสะ หานิ นัตถิ วิมุตติยา หานิ
๔. อิเมหิ ทะวาทะสะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต
นัตถิ ทะวา นัตถิ ระวา นัตถิ อัปผุฏฏัง นัตถิ เวคายิตัตตัง
นัตถิ พะยาวะฏะมะโน นัตถิ อัปปฏิสังขารุเปกขา
๕. อิเมหิ อัฏฐาระสะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต
นะโม สัตตันนัง
สัมมาสัมพุทธานัง นัตถิ ตะถาคะตัสสะ กายะทุจริตตัง
นัตถิ ตะถาคะตัสสะ วจีทุจริตตัง
นัตถิ ตะถาคะตัสสะ มะโนทุจริตตัง
นัตถิ อตีตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิหะตะญาณัง
นัตถิ อนาคตัง เส
พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิหะตะญานัง นัตถิ ปัจจุบันนัง เส
พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิหะตะญานัง
นัตถิ สัพพัง กายะกัมมัง ญาณานุปุพพัง คะมัง ญาณัง นานุปริวัตตัง
นัตถิ สัพพัง วจีกัมมัง ญาณานุปุพพัง คะมัง ญาณัง นานุปริวัตตัง
นัตถิ สัพพัง มะโนกัมมัง ญาณานุปุพพัง คะมัง ญาณัง นานุปริวัตตัง
อิมัง ธาระณัง อะมิตัง อะสะมัง สัพพะสัตตานัง ตาณังเลณัง
สังสาระ ภะยะภีตานัง อัคคัง มหาเตชัง
๖. อิมัง อานันทะ ธาระณะปริตตัง ธาเรหิ วาเรหิ ปริปุจฉาหิ
ตัสสะ กาเย วิสัง นะ กะเมยยะ อุทะเกนะ ลัคเคยยะ อัคคีนะ
ทะเหยยะ นานาภะยะวิโก นะ เอกาหาระโก นะ ทะวิหาระโก นะ
ติหาระโก นะ จะตุหาระโก นะ อุมมัตตะกัง นะ มุฬะหะกัง
มนุสเสหิ อะมนุสเสหิ นะ หิงสะกา
๗. ตัง ธาระณัง ปริตตัง ยถา กะตะเม
ชาโล มหาชาโล ชาลิตเต มหาชาลิตเต ปุคเค มหาปุคเค
สัมปัตเต มหาสัมปัตเต ภูตัง คะมะหิ ตะมังคะลัง
๘. อิมัง โข ปะนานันทะ ธาระณะปริตตัง สัตตังสะเตหิ สัมมา
สัมพุทธโกฏีหิ ภาสิตัง
วัตเต อะวัตเต คันธะเว อะคันธะเว โนเม อะโนเม เสเว อะเสเว
กาเย อะกาเย ธาระเณ อะธารระเณ
อัลลิ มิลลิ ติลลิ มิลลิ โยรุกเข มหาโยรุกเข ภูตัง คะมะหิ
ตะมังคะลัง
๙. อิมัง โข ปะนานันทะ ธาระณะปริตตัง นะวะ นะ วุติยา สัมมา
สัมพุทธโกฏีหิ ภาสิตัง
ทิฏฐิลา ทัณทิลา มันติลา โรคิลา ขะระลา ทุพพิลา เอเตนะ สัจจะ
วัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
คำแปลพระคาถาธารณปริตร
๑. อันชีวิตแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายอันใครๆ ไม่อาจทำอันตรายได้ฉันใด
ขอชีวิตความเป็นอยู่แห่งข้าพเจ้า จงเป็นเหมือนเช่นกัน
อันว่าญาณที่ไม่มีเครื่องกระทบของพระพุทธเจ้าผู้มีบุญย่อมมีในอดีต ในอนาคต ในปัจจุบัน
๒. อันว่ากายกรรมทั้งปวงของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรมทั้งหลายสามเหล่านี้มีญาณเป็นประธานเป็นไปตามญาณ
อันว่าวจีกรรมทั้งปวงของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรมทั้งหลายสามเหล่านี้มีญาณเป็นประธานเป็นไปตามญาณ
อันว่ามโนกรรมทั้งปวงของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรมทั้งหลายสามเหล่านี้มีญาณเป็นประธานเป็นไปตามญาณ
๓. อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงของประโยชน์ที่ประสงค์
ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีบุญ ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรม ๖ ประการเหล่านี้
อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงแห่งการแสดงธรรม
ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงของความเพียร
ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงของวิปัสสนาญาณ
ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงแห่งกามาวจรและรูปาวจรวิมุตติ
ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าการพูดเล่น ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีบุญ ผู้ประกอบด้วยคุณธรรมทั้งหลาย ๑๒ ประการเหล่านี้
อันว่าการพูดพลั้งเผลอโดยขาดสติ
ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
๔. อันว่าความไม่แพร่หลายในเญยยะธรรม ๕
ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าการกระทำใดๆ อย่างผลุนผลัน โดยไม่มีการพิจารณาเสียก่อน
ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าความมีใจวุ่นวายด้วยกิเลส
ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าการกระทำที่ไม่มีอุเบกขาในเตภูมิสังขาร
ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
๕. อันว่าความเคารพนอบน้อม
ขอจงมีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีบุญ ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรม ๑๘ ประการเหล่านี้
อันว่ากายทุจริต ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต
อันว่าวจีทุจริต ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต
อันว่ามโนทุจริต ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต
อันว่าญาณ อันมีเครื่องกระทบขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีบุญ ย่อมไม่มีในอดีต
อันว่าญาณ อันมีเครื่องกระทบขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีบุญ ย่อมไม่มีในปัจจุบัน
อันว่าญาณ อันมีเครื่องกระทบขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้มีบุญ ย่อมไม่มีในอนาคต
อันว่ากายกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ
ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่าวจีกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ
อันว่ามโนกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ
ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อันว่า ธารณปริตร นี้ ไม่มีเครื่องเทียบ ไม่มีเครื่องเสมอเหมือน
เป็นที่ต่อต้าน เป็นที่หลบซ่อนของสัตว์
ผู้ที่กลัวภัยในสังสารวัฏทั้งหลาย อัคคัง ประเสริฐ มหาเตชัง มีเดชมาก
๖. ดูกรอานนท์ ท่านจงท่องจดจำ สอบถาม ซึ่งธารณปริตรนี้
อันว่ากายของผู้ท่องสวดมนต์ธารณปริตรนี้ ไม่พึงตายด้วยพิษงู พิษนาค
ไม่พึงตายในน้ำ อันว่าไฟไม่พึงไหม้เป็นผู้พ้นภัยพิบัติต่างๆ
ใครคิดทำร้ายในวันเดียวก็ไม่สำเร็จ ใครคิดร้ายทำลายในสองวัน สามวัน สี่วัน...ก็ไม่สำเร็จ
ไม่พึงเป็นโรคหลงลืม ไม่พึงเป็นบ้าใบ้
อันมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย ไม่สามารถเบียดเบียนได้
๗. อันว่าธารณปริตรนี้ มีความศักดิ์สิทธิ์ คือ
ชาโล มีอานุภาพเหมือนพระอาทิตย์ ประชุมกัน ๗ ดวง ที่ขึ้นมาในเวลาโลกาพินาศ
มหาชาโล มีอานุภาพเหมือนมุ้งเหล็ก ที่สามารถป้องกันภัยจาก
เทวดา อินทร์ นาค ครุฑ ยักษ์ เป็นต้น
ชาลิตเต มีอานุภาพประหารศัตรูทั้งหลาย
มหาชาลิตเต มีอานุภาพให้พ้นจากกัปทั้ง ๓ คือ
โรคันตรกัป, สัตถันตรกัป และทุพภิกขันตรกัป
มีอานุภาพให้พ้นจากโรคต่างๆ ในเวลาปฏิสนธิคือ
การเป็นใบ้ เป็นคนพิการ เป็นคนหูหนวก
อีกทั้งไม่พึงตกต้นไม้ ตกเหว ตกเขาตาย
สามารถได้สมบัติที่ยังไม่ได้ ทรัพย์สมบัติที่ได้มาแล้วก็จะเจริญขึ้น
โดยความเป็นจริง สามารถประหารความมืด แล้วได้ความสว่าง
๘. ดูกรอานนท์ อันธารณปริตร ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
ทรงตรัสไว้พึงสมาคมคนดี ไม่พึงสมาคมคนชั่ว
พึงนำมาซึ่งกลิ่นและรสอันเป็นธรรม
พึงน้อมนำมาซึ่งน้ำใจดี ไม่พึงน้อมนำมาซึ่งน้ำใจร้าย
พึงทำกายให้เป็นกายดี
พึงนำมาแต่สิ่งอันเป็นกุศล ไม่พึงนำมาซึ่งสิ่งอันเป็นอกุศล
พึงฟังแต่สิ่งที่ดี ไม่พึงฟังสิ่งที่ไม่ดี
พึงเห็นแต่นิมิตดี ไม่พึงเห็นนิมิตร้าย
โยรุกเข ต้นไม้ที่ตายแล้วสามารถฟื้นขึ้นมาได้
มหาโยรุกเข ต้นไม้ที่ยังเป็นอยู่ ก็ทำให้เจริญงอกงามโดยความเป็นจริง
สามารถประหารความมืด แล้วได้ความสว่าง
๙. ดูกรอานนท์ อันธารณปริตรนี้ สามารถรู้ความคิดร้ายของผู้อื่น
อาวุธต่างๆ มีเครื่องประหาร เช่น มีด หอก ปืน ไฟ เป็นต้น ไม่สามารถทำอันตรายได้
มันติลา สามารถทำมนต์คาถา ให้มีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้น
สามารถประหารโรคต่างได้
และโรคร้ายแรงต่างๆ ไม่อาจทำอันตรายได้
ทุพพิลา สามารถหลุดพ้นจากเครื่องผูกมัด
ด้วยอำนาจแห่งสัจจะวาจานี้ ขอความสวัสดีมีชัยจงมีแก่ข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อเถิด.
ความเป็นมาของพระคาถาธารณปริตร
เมื่อครั้งออกพรรษาปี ๒๕๒๖ พระป่ากรรมฐานรูปหนึ่งได้มีโอกาสออกวิเวกเจริญ
รุกขมูล ธุดงค์ทางภาคเหนือและชายแดนฝั่งพม่าเขตติดต่อพรมแดนในแวดวงหมู่บ้าน
ชาวเขาเผ่าต่างๆนานเกือบ ๓ เดือน ขณะปักกลดพักที่ดอยพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้
จ.ลำพูนได้พบและปรึกษาธรรมปฎิบัติและอื่น ๆ กับพระอาจารย์รังสรรค์ โชติปาโล
ซึ่งเพิ่งธุดงค์เดินป่ามาจากประเทศพม่า และได้จดจำเอา"พระคาถาธารณปริตร" จาก
วัดอรัญตะยา ในมัณฑะเลย์ ประเทศพม่ามาด้วย
เนื่องจากเห็นว่าเป็นบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณที่ในประเทศไทย ยังไม่คุ้นเคย
หรือมีปรากฎมาก่อนจะด้วยสาเหตุใดก็ตามทีเมื่อพระป่ามาพบกันหลายองค์ที่จังหวัด
ลำพูน ก็ได้นำพระคาถาธารณปริตรนี้ ทำวัตรเย็นร่วมกัน ติดต่อกันอยู่ ๕ วัน ก่อนทำ
เพียรภาวนาทุกค่ำคืนได้ปรากฏเห็นหมู่เทวาอารักษ์ในนิมิตมาชุมนุมและร้องชมเชย
สรรเสริญ ชื่นบาน ร่าเริงมาก ที่ได้ยินพระป่ากรรมฐานเจริญ พระคาถาธารณปริตร
อันทรงคุณเป็นเลิศนี้
พระภิกษุกรรมฐานทั้ง ๕-๖ รูปนี้ ครั้นเจริญพระปริตรที่ห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน
ต่างได้เห็นนิมิตเทวาอารักษ์ ชื่นชมตรงกันทั้งสิ้น แม้จะน้อมนำทำน้ำพระพุทธมนต์
โปรดหมู่ญาติโยมในที่ต่างๆก็ศักดิ์สิทธิ์เหลือประมาณ จึงได้พิจารณาเห็นว่าพระพุทธา
นุภาพของพระปริตร บทนี้ ทรงคุณเหลือประมาณ สมควรที่พุทธศาสนิกชนทุกท่าน
จะได้นำไปสาธยายบูชาต่อไป
อนึ่ง ข้าพเจ้าได้ทราบจากหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ว่า ผู้ที่สาธยายมนต์พระปริตร
บทนี้ทุกๆวัน อย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง พร้อมกับเร่งบริจาคทาน รักษาศีลและเจริญภาวนา
จะสามารถรอดพ้นจากวิกฤตมหาอุบัติภัยโลกที่จะบังเกิดขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์ และ
แม้ในที่สุดยังสามารถช่วยบรรเทาภัยพิบัติของโลกให้บางเบาลดน้อยลงไปได้
โดยหลังจากเจริญพระปริตรบทนี้แล้ว ให้ตั้งจิตน้อมแผ่เมตตา แผ่คุณความดี
บุญกุศลของเราที่ได้ปฏิบัติบำเพ็ญมานับแต่อดีตชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ อุทิศให้กับ
เจ้ากรรมนายเวรของตนเองและเจ้ากรรมนายเวรของสรรพชีวิตทั้งหลาย ทั่วไตรโลกธาตุ
อนันตจักรวาล ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาตินี้
และกระทำจิตให้นิ่ง ว่างเปล่าชั่วขณะ แล้วภาวนาว่า
“ พุทธัง อนันตัง ธัมมัง จักรวาลัง สังฆัง นิพพานะ ปัจจโย โหตุ ”
น้อมจิตอุทิศกุศลไปโดยรอบทั่วไตรโลกธาตุ ความวิบัติต่างๆ ก็จะบรรเทาลง
ที่มา : เอกสารโรเนียวแจกเป็นธรรมทาน ของกองธรรมพระศรีอารย์







ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น